กลวิธีของมวยไทย

มวยไทยคือ ศิลปะการต่อสู้มือเปล่าของประเทศไทย เป็นศาสตร์การโจมตีที่ใช้ได้กับอวัยวะทุกส่วน  สองมือ สองเท้า สองศอก และสองเข่า มวยไทยสมัยก่อน ต่างจากปัจจุบันมาก เพราะสมัยก่อน ใช้ในยามออกศึก และสามารถฆ่ากันได้ง่ายๆ ก็เหมือนภาพยนตร์ในเรื่อง องค์บาก ต้มยำกุ้ง ของจาพนมประมาณนั้น และสมัยก่อนเวลามีงานวัด เขาจะจัดงานชกมวย ขึ้น แต่จะไม่ใส่นวม  ส่วนใหญ่เอาเชือดมามัดมือ เรียกกันว่ามวยคาดเชือก ผู้ฝึกมวยไทยจะต้องมีความศรัทธาเชื่อถือและปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณีการชกมวยไทยเชื่อฟังปฏิบัติตามผู้ฝึกสอนอย่างเคร่งครัดและฝึกทักษะพื้นฐานต่างๆอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความชำนาญ เช่น

การกำหมัด เป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะจะทำให้หมัดมีน้ำหนักและออกหมัด ได้รวดเร็วและ ถ้ากำหมัดไม่ถูกวิธี อาจจะทำให้เกิดอันตราย เช่น มือ นิ้ว หรือ ข้อมือ  อาจเคล็ดหรือ หักได้

การตั้งท่า ก็สำคัญไม่ต่างจากการกำหมัด  เนื่องจากมวยไทยอาศัยการ เตะเป็นอาวุธหลัก ดังนั้น ถ้านักมวยไทยคนไหน ตั้งท่าและทรงตัวไม่ดีแล้ว ขณะยกขาขึ้นเตะ อาจจะเสียการทรงตัวได้ง่าย

การใช้อาวุธหมัด นักมวยสามารถชกหมัดได้หลายลักษณะ คือ หมัดตรง หมัดเหวี่ยงหรือหมัดสวิง หมัดเสย หรือหมัดสอยดาว

การชกหมัดตรง  แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ หมัดตรงด้วยหมัดหน้า และ หมัดตรงด้วยหมัดหลัง

การป้องกันหมัดตรง การป้องกันหมัดตรงมีหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโอกาสหรือจังหวะที่ใช้

  1. การปัด ใช้เมื่อคู่ต่อสู้ชกหมัดตรง มาที่บริเวณใบหน้าสามารถ ใช้วิธีปัดด้วยมือหน้า หรือหมัดหน้าการปัดเมื่อคู่ชกมา เกือบถึงเป้าแล้วจึงค่อยปัด
  2. การปะทะ ให้ยกแขนทั้งสองขึ้นบังบริเวณใบหน้าแล้วเกร็งแขนและคอ เพื่อปะทะหมัดคู่ต่อสู้ ต้องพยายามเก็บคางไม่ให้โดนหมัดเป็น หรืออาจยกศอกหน้าขึ้นป้องกันก็ได้
  3. การโยกตัวหลบ เป็นวิธีป้องกันที่ทำได้ง่าย การโยกนี้ใช้บริเวณเอวช่วยเมื่อ โยกพ้นแล้วจึงค่อยตอบโต้ด้วยอาวุธอื่น ๆ
  4. การย่อตัวหรือก้มต่ำ เป็นวิธีที่ต้องอาศัยความว่องไวในการย่อตัวหลบหมัดคู่ต่อสู้ ให้ผ่านศีรษะไป และขณะย่อหลบนั้นตาต้องมอง คู่ต่อสู้ตลอดเวลา